คำที่มักใช้ผิด

คำที่มักใช้ผิด

คนหนึ่งที่ชอบไปทำบุญที่วัด เพราะนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังได้รักษาประเพณีอันดีงามไว้ ได้พบปะญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก และได้เรียนรู้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาด้วย  ซึ่งศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เมื่อไปทำบุญที่วัด ล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยตนเองแทบทั้งสิ้น  ทั้งจากการได้ยินพระสงฆ์และผู้ใหญ่พูด หรือจากการได้พบเห็นป้ายประกาศต่าง ๆ ภายในวัด  โดยเข้าใจเองว่าคำที่ได้ยินและได้เห็นเหล่านั้นเป็นคำที่ถูกต้อง  แต่เมื่อได้เรียนรู้มากขึ้น จึงพบว่าคำบางคำที่ใช้จนคุ้นเคยมานานเป็นคำที่พูดและเขียนไม่ถูกต้อง จึงขอนำคำเหล่านั้นมาเสนอพอสังเขป

ความหมายของ "มัคนายก" กับคำว่า "มัคทายก"

คำว่า "มัคนายก" เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะได้ยิน ไม่ค่อยได้ใช้ แต่มักจะได้ยินคำว่า"มัคทายก" มากกว่า และคิดว่าคำๆ นี้เป็นคำที่ใช้เรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำกล่าวคำบูชา คำอาราธนาพระ และพิธีการทางสงฆ์ต่างๆ ในวัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน 

"มัคทายก" เป็นคำสมาส มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "ทายก" (แปลว่า ผู้ถวายจตุปัจจัยแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้นับถือศาสนา ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ทางของผู้นับถือศาสนา 

ส่วน "มัคนายก" เป็นคำสมาสเช่นกัน มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "นายก" (แปลว่า ผู้นำ ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ผู้นำทาง

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "มัคนายก" ว่าหมายถึง ผู้จัดการทางกุศล ผู้ชี้แจงทางบุญ แต่ไม่มีการให้ความหมายของ "มัคทายก" ไว้ดังนั้น ถ้าจะใช้คำเพื่อเรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำเรากล่าวคำบูชา คำอาราธนา คำถวายสิ่งของให้พระที่วัดแล้ว คำว่า "มัคนายก" จึงเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า "มัคทายก"

ที่มา http://www.dhammajak.net/
 
คำ (ที่เรียนรู้จาก) วัด

 

          ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ชอบไปทำบุญที่วัด เพราะนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังได้รักษาประเพณีอันดีงามไว้ ได้พบปะญาติพี่น้องหรือคนรู้จัก และได้เรียนรู้คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาด้วย  ซึ่งศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เมื่อไปทำบุญที่วัด ล้วนแล้วแต่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงด้วยตนเองแทบทั้งสิ้น  ทั้งจากการได้ยินพระสงฆ์และผู้ใหญ่พูด หรือจากการได้พบเห็นป้ายประกาศต่าง ๆ ภายในวัด  โดยเข้าใจเองว่าคำที่ได้ยินและได้เห็นเหล่านั้นเป็นคำที่ถูกต้อง  แต่เมื่อได้เรียนรู้มากขึ้น จึงพบว่าคำบางคำที่ใช้จนคุ้นเคยมานานเป็นคำที่พูดและเขียนไม่ถูกต้อง จึงขอนำคำเหล่านั้นมาเสนอพอสังเขป ดังนี้
 

          กรวดน้ำ หมายถึง แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ  มักใช้ผิดว่า ตรวจน้ำ
 

          จตุปัจจัย หมายถึง เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) และคิลานเภสัช (ยา)  มักใช้ผิดว่า จัตุปัจจัย
 

          บิณฑบาต หมายถึง อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต หรือหมายถึง กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่มีผู้นํามาใส่บาตร  มักใช้ผิดว่า บิณฑบาตร
 

          มัคนายก หมายถึง ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด  มักใช้ผิดว่า มัคทายก
 

          สลากภัต หมายถึง อาหารแห้งหรือผลไม้ถวายพระโดยวิธีจับฉลาก  มักใช้ผิดว่า สลากภัตร
 

          อุปัชฌาย์ หมายถึง พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา  มักใช้ผิดว่า อุปัชฌา.

                                                                                                         พรทิพย์  เดชทิพย์ประภาพ


เครดิตภาพ คุณธนกฤต เตชะปฐมานนท์

เจ้าของร้านพิธีไทย รับจัดงานบุญ งานบวช งานมงคล รับงานนายพิธี

โทร. 097-2358885

Line id: tkcenter2

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้